Skip to main content
Thai Climate Justice Working Group logo

Thai Climate Justice Working Group

  • หน้าแรก
  • ปัญหา
  • ทางออก
  • ประเด็น
  • บอกต่อ
  • คลังข้อมูล
  • กิจกรรม
  • เกี่ยวกับเรา

บอกต่อ

เสวนาในสวน: ชวนคิดชีวิตคนกรุงฯ (Rethink Urban Life)

Submitted by webmaster on Tue, 12/17/2013 - 12:52

UPDATE: 

คลิกดูภาพงานเสวนาในสวนฯ

คลิกดูบันทึกวีดีโองานเสวนาในสวน

คลิกดูรายละเอียดกิจกรรม และ Power Point ประกอบการคุยเรื่องพลังงานบานตะไทฯ

-------------------------------------------------------------------------------------------

เสวนาในสวน

ชวนคิดชีวิตคนกรุงฯ (Rethink Urban Life)

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556  เวลา 12.30 - 15.00 น.  ณ โถงกิจกรรม สวนโมกข์กรุงเทพฯ

เป้าหมาย:

  • จุดประกายคำถามเกี่ยวกับวิถีชีวิตคนเมือง  
  • สำรวจแนวคิดวิถีนอกกระแสที่จะสร้างกรุงเทพฯ ให้ยั่งยืนขึ้นได้

หัวข้อนำเสวนาและวิทยากร

  • ใช้พลังงานบานตะไท    
    - คุณฝ้ายคำ หาญณรงค์ (ผู้ประสานงาน “คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม”)
    www.facebook.com/ThaiClimateJustice  
  • อาคารอยู่สบายเเละพื้นที่ส่วนรวม  
    - คุณปณัฐพรรณ ลัดดากลม (สถาปนิกและนักผังเมืองเพื่อชุมชน “สถาบันอาศรมศิลป์”)
    www.facebook.com/arsomsilp  
  • ปั่นปั่นกับฝันเรื่องการสัญจร  
    - คุณนนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล (ผู้ก่อตั้ง “Bangkok Bicycle Campaign”)
    www.facebook.com/BangkokBicycle
  • ก่อนอาหารจะมาถึงจานของเรา  
    - คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา (หนึ่งในผู้ก่อตั้งแคมเปญ “กินเปลี่ยนโลก”)
    www.facebook.com/food4change
  • ผู้ดำเนินรายการ  
    - คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล (ผู้ดำเนินรายการ “เช้าทันโลก FM96.5”)
    www.facebook.com/kannikar.kij

       ความเป็นศูนย์กลางของเมืองไม่ได้หมายความว่าคนเมืองจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข ทุกวันนี้วิถีชีวิตของคนเมืองโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ถูกจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ การต้องทนกับรถติดวันละหลายชั่วโมง พึ่งพาอาหารแช่แข็งจากร้านสะดวกซื้อ และหลังจากเลิกงานหรือในวันหยุดก็แทบจะไม่มีพื้นที่อื่นในการพักผ่อนหย่อนใจและปฏิสังสรรค์นอกจากไปเดินห้างสรรพสินค้าน้อยใหญ่ที่ผุดเพิ่มขึ้นแทบจะทุกหัวถนน ซ้ำยังทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งหมดนี้ ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นชีวิตที่ดี ทั้งยังปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์และการเชื่อมโยงกับธรรมชาติของคนเมือง

       เมื่อประมาณ 100 ปีก่อนเพียง 20% ของประชากรโลกเท่านั้นที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง (urban) แต่ด้วยความเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ผู้คนจึงย้ายถิ่นฐานจากชนบทมุ่งสู่เมือง  นับจากปี 2010 เป็นต้นมา กว่าครึ่งของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตเมือง และคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ประชากรโลกกว่า 70% จะอาศัยอยู่ในเขตเมือง  สำหรับประเทศไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม ปัจจุบันมีประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองกว่า 34% และจำนวนคนเมืองก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการขยายตัวของเมืองใหญ่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว  กรุงเทพมหานครและปริมาณฑล มีประชากรกว่า 9 ล้านคน หรือกว่า 10% ของประชากรทั้งหมดในประเทศไทย แต่กรุงเทพฯจังหวัดเดียวใช้ไฟฟ้าถึง 1 ใน 3 ของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ทั้งหมดในประเทศ มากกว่าการใช้ไฟฟ้าของภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้รวมกันเสียอีก ขณะเดียวกัน รถที่จดทะเบียนในกรุงเทพฯ ณ วันที่ 31 มกราคม 2556 มีมากถึง 7.6 ล้านคัน หรือ 23% ของรถที่วิ่งอยู่ทั่วประเทศ

       การกระจุกตัวของคนอยู่ในเมืองใหญ่ที่เป็นทั้งศูนย์กลางของเศรษฐกิจ การค้า การสื่อสาร การศึกษา และกิจกรรมของมนุษย์แทบทุกอย่าง ทำให้การบริโภคทรัพยากรและพลังงานของเมืองเข้มข้นตามไปด้วย เมื่อผนวกกับข้อจำกัดทางพื้นที่ซึ่งไม่สามารถพึ่งพาตนเองในด้านทรัยากรได้ (ไม่มีพื้นที่ผลิตอาหาร ของใช้ ไฟฟ้า และพลังงานให้เพียงพอต่อการบริโภคของประชากรตัวเอง) และขาดการวางแผนโครงสร้างพื้นฐานและออกแบบเมืองล่วงหน้าเพื่อรองรับการขยายตัว จึงทำให้การใช้ทรัพยกรของเมืองเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพและฟุ่มเฟือย เมืองต้องพึ่งพาทรัพยากรและพลังงานจากชนบท และด้วยความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและเข้มข้นขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้การพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆ นำมาซึ่งความขาดสมดุลย์จากการแย่งชิงทรัพยากรจากชนบท เหล่านี้เป็นวิถีการเจริญเติบโตของเมืองที่ไม่ยั่งยืน

….ถึงเวลาเปลี่ยนวิถีชีวิตเมืองกรุงฯ?

       เมื่อวิถีเมืองกรุงฯ ชวนอึดอัด ปัจจุบันคนเมืองจำนวนมากขึ้น ทั้งที่เป็นระดับปัจเจคและอีกจำนวนมากที่รวมตัวกันเป็นกลุ่ม/องค์กร เริ่มตั้งคำถามกับความไม่ยั่งยืนของวิถีชีวิตตนเอง และตื่นตัวงต่อแนวคิดวิถีชีวิตทางเลือกของคนเมืองพร้อมทั้งลงมือปฏิบัติการจริง ซึ่งแม้แนวคิดและปฏิบัติการเหล่านี้จะยังไม่ใช่กระแสหลัก แต่ก็สามารถสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้เกิดปฏิบัติการเล็กๆ จำนวนมาก

       ดังนั้น คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม (TCJ) จึงขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมวงเสวนา “ชวนคิดชีวิตคนกรุงฯ” และร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์วิถีคนเมืองนอกกระแสในมุมมองต่างๆ ที่มีนัยยะสำคัญต่อการนำไปสู่ “วิถีคนกรุงฯที่ยั่งยืน” ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการเมืองอย่างสมดุลย์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ เช่น แนวคิดด้านการใช้พลังงานและการบริโภคของคนกรุงฯ ระบบขนส่งและพื้นที่สาธารณะ และระบบอาหารของคนเมือง เป็นต้น โดยหวังว่าการเสวนานี้ จะช่วยจุดประกายความคิดของคนเมือง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ไปสู่สังคมที่น่าอยู่ขึ้นและส่งผลกระทบน้อยลง

สถานที่

โถงกิจกรรม บริเวณชั้นล่างของสวนโมกข์กรุงเทพฯ (หอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ, สวนรถไฟ)

แผนที่ http://bit.ly/BIAbangkok

บอกต่อเรื่องอื่นๆ

  • Infographic: หยุดวิกฤตโลกร้อน = หยุดเผาฟอสซิล
  • Infographic: หากโลกร้อนขึ้น 1-6 องศาเซลเซียส
  • Infographic: รู้ทันโลกร้อน
  • แผนที่ "โลกร้อนกระทบแล้วถ้วนหน้า"
  • Infovideo: ร้อน แล้ง ท่วม
  • สังคมไทยควรเรียนรู้อะไรจากกรณีแม่เมาะ? บันทึกวีดีโอ Press Briefing
  • Infographic: ทำความเข้าใจคดี "แม่เมาะ" หลังจากคำตัดสินศาลปกครองสูงสุด เมื่อ กุมภาพันธ์ 2558
ดูทั้งหมด

Thai Climate Justice Working Group
คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม