Skip to main content
Thai Climate Justice Working Group logo

Thai Climate Justice Working Group

  • หน้าแรก
  • ปัญหา
  • ทางออก
  • ประเด็น
  • บอกต่อ
  • คลังข้อมูล
  • กิจกรรม
  • เกี่ยวกับเรา

คลังข้อมูล

People Statement Thai Climate Justice Forum By the Thai Working Group for Climate Justice (TCJ) and the Thai Community Networks (English&Thai)

Submitted by webmaster on Mon, 11/04/2013 - 12:32

People Statement

Thai Climate Justice Forum

By the Thai Working Group for Climate Justice (TCJ)

and the Thai Community Networks

Bangkok, 4 October 2009

-----------------------------------------------------------------

       

We, over 500 representatives of the Community Forest Network,  Land Reform Network, Network of Indigenous and Tribal Peoples of Thailand, Thai Fisher-folk Federation, Network Against Fossil Power and Heavy Industries, Renewable Energy Network, Alternative Agricultural Network, Assembly of the Poor,  Women’s Network, and Small Scale Fisher-folk Youth Network of the South,  joined in solidarity during the two-day forum held on 3-4 October 2009, to exchange our experiences of sufferings and the problems caused by global warming and share our views towards how to solve these problems.  We finally agree to declare our statement to struggle for justice under the climate crisis:

 

We find injustice exists in the climate-related problems:

Injustice that the developed countries have not reduced the greenhouse gases at their origins but buy their carbon credits in the developing countries;

Injustice that the industrial and energy sector, both private corporations and state enterprises, e.g. PTT, EGATT, Chevron, IRPC, ECCO and other fossil fuel firms continuously emit the greenhouse gases, leading to the crisis of global warming, but they  have themselves never been suffered the impact of their deeds;

Injustice that these corporations and agencies have never been punished. In fact they receive endless privileges of promotion from the State.  For example, the national Power  Development Plan (PDP) keep its firm policy to further construct over ten  new coal-fired power plants and at least other four nuclear power plants;

Injustice that even though the worst pollution impacts on environment and people caused by industrial development, e.g. at  the Map Ta Phut area, have never been able to cope with by all existing resorts, these lessons have never been learnt of. The government ignores to review patterns of heavy industrial promotion. Thailand will become a pollution junkyard finally. 

Injustice that local communities, indigenous and tribal peoples who have been living, farming, and caring  in the forestry areas for generations with their precious local wisdom handed down through the ages, now are forced  to be criminals by the state, are accused of deforestation doers, and are causes of global warming.  Many families have been against with lawsuits and some have been legally charged with millions baht by the state-forced guilty.       

Injustice that the fishing communities who are the frontline of climate victims have never  been listened to. Their rights to manage coastal resources have not been recognized.  Moreover the industrial developmental projects in the southern coasts of Thailand is  aggravating to their plights caused by the impacts of global warming.

Injustice that the small-scale farmers who practice sustainable ways of agriculture to produce a healthier food for all. But the sustainable agricultural pattern has never  been officially promoted by the State. Worse is that their small pieces of land are at risk to be seized for carbon sequestration.      

Injustice that the industrial farming sector is always gone scot-free, and have never taken  responsibilities to their emission of greenhouse gases. 

Injustice that communities who have tried to develop renewable energies have not been supported properly either at the local or policy level.

 

To reclaim the climate justice, we demand the Government to:

  1. Create justice in development by allowing the people to participate in developmental policy making process, in reviewing the national developmental direction, and recognize people rights to monitor and investigate the developmental implementation; 
  2. Review and reorient towards sustainable development approaches, and phase-out the fossil fuel dependence;
  3. Review the Power Development Plan (PDP) and make serious efforts to promote and support renewable energies;
  4. Put on hold the REDD mechanism, and give a proper recognition to local communities’ rights to manage land and forest resources;
  5. Recognize the fisher-folk’s community rights and support their involvement in sustainable coastal resource management;
  6. Review the national energy development plan and the southern coastal industrial development policies;
  7. Stop all aggressive developmental projects which do more harm than good to local communities’ adaption ability to climate crisis, and replacing with comprehensive supports to the local communities’ capacity and ways of thinking to run their existing sustainable economic developmental activities;  
  8. Promote and support sustainable agricultural systems and integrated farming systems - the production mode which are in more harmony with the local ecological system and will be more useful to develop a friendly carbon sequestration process;
  9. Take serious action to promote the energy management by communities and have it developed further at the national policy making level.

 

-----------------------------

 

 

คำประกาศเจตนารมณ์จากเวทีประชาชนไทย

“ลดโลกร้อนต้องทำอย่างเป็นธรรม”

โดย คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม และเครือข่ายองค์กรประชาชนไทย

ณ ห้องประชุม โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร  กรุงเทพฯ

4 ตุลาคม 2552

---------------------------------------------

 

          เราตัวแทนเครือข่ายป่าชุมชน เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย  สมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย เครือข่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหนัก เครือข่ายพลังงานทางเลือก เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก  สมัชชาคนจน เครือข่ายผู้หญิง และเครือข่ายเยาวชนประมงพื้นบ้านภาคใต้ จำนวนกว่า 500 คนมารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหา ความเห็น และมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาโลกร้อนเป็นเวลา 2 วัน คือวันที่ 3 และ 4 ตุลาคมนี้ เรามองเห็นอย่างชัดเจนดังนี้

 

ความไม่เป็นธรรมดำรงอยู่มากมายภายใต้วิกฤตการณ์โลกร้อน กล่าวคือ

          ความไม่เป็นธรรม ที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน ทั้งบริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  ได้แก่  บริษัท ปตท. (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทเชฟรอน บริษัทไออาร์พีซี บริษัทเอ็กโก  และอีกหลายบริษัท  ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ และสร้างภาวะโลกร้อน  กลับไม่ต้องรับผลจากการกระทำของตนเอง 

ความไม่เป็นธรรม ที่บริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ไม่ถูกลงโทษ หากยังได้รับการส่งเสริมอุดหนุนจากภาครัฐอย่างไม่หยุดยั้ง ดังตัวอย่างที่พบเห็นจากแผนพัฒนาพลังงานฯ ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินนับสิบโรง  โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกไม่ต่ำกว่า 4 โรง

ความไม่เป็นธรรม ที่ประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ลดการปล่อยก๊าซในประเทศของตน
แต่ใช้วิธีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศกำลังพัฒนาแทน

ความไม่เป็นธรรม ที่บทเรียนของผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ปรากฏอย่างเด่นชัด เช่น กรณีปัญหาที่มาบตาพุด เป็นต้น แต่รัฐก็ยังไม่ทบทวนนโยบายการขยายอุตสาหกรรมหนักในพื้นที่นี้ กลับเดินหน้าการพัฒนาอุตสาหกรรมท่ามกลางความเดือดร้อนของชุมชน สิ่งนี้กำลังจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นถังขยะมลพิษให้กับประเทศอุตสาหกรรม

ความไม่เป็นธรรม ที่ชุมชนท้องถิ่นและชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัย ที่หาอยู่หากินกับป่ามาช้านาน ดูแลจัดการป่าตามภูมิปัญญาสืบทอดกันมา  กลับกลายเป็นอาชญากรในสายตาของภาครัฐ หลายคนถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการทำลายป่า และทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น หลายคนถูกปรับและต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวนสูงที่บางครอบครัวต้องจ่ายสูงเป็นล้านบาท

ความไม่เป็นธรรม ที่ชุมชนประมงซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงและเป็นกลุ่มแรก ๆ กลับไม่ได้รับการรับฟัง การรับรองสิทธิในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง  ยิ่งกว่านั้นรัฐบาลยังเดินหน้าโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตามชายฝั่งทะเลภาคใต้ เป็นการซ้ำเติมปัญหาและผลกระทบที่พวกเขาต้องเผชิญจากวิกฤตโลกร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว

ความไม่เป็นธรรม ที่เกษตรกรรายย่อย ผู้ผลิตอาหารอันหลากหลายและมีคุณภาพแก่ทุกคนในสังคม ทว่าระบบเกษตรกรรมยั่งยืนกลับไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง  และอาจจะถูกแย่งชิงที่ดินจากการที่จะเอาดิน ไปเก็บกักคาร์บอน

ความไม่เป็นธรรม ที่เกษตรอุตสาหกรรมจะลอยนวลและไม่ต้องรับผิดชอบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

ความไม่เป็นธรรม ที่ชุมชนได้พยายามคิดค้นพัฒนาพลังงานทางเลือกแต่กลับไม่รับการส่งเสริมอย่างจริงจังทั้งในระดับปฏิบัติและระดับนโยบาย

 

ความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ รัฐบาลไทยจะต้อง

     1.  สร้างความเป็นธรรมในการพัฒนา โดยการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ และมีสิทธิอำนาจในการติดตามตรวจสอบกระบวนการดำเนินงาน

  1. ทบทวนทิศทางการพัฒนา  มุ่งหน้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
  2. ทบทวนแผนพัฒนาพลังงานของประเทศ (แผนพีดีพี) พร้อมทั้งมีแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจัง
  3. หยุด REDD ไว้ก่อน และให้การรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรที่ดินป่าไม้อย่างเป็นจริง
  4. รับรองสิทธิและสนับสนุนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนโดยชุมชนประมงชายฝั่ง
  5. หยุดโครงการพัฒนาพลังงานและโครงการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมชายฝั่งต่าง ๆ  
  6. หยุดทำลายขีดความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อภาวะโลกร้อนของชุมชนโดยการทำโครงการพัฒนาที่จะทำลายวิถีชีวิตของชุมชน และดำเนินการอย่างเป็นจริงในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน รวมถึงสนับสนุนวิถีทางที่ชุมชนดำเนินอยู่
  7. ส่งเสริมสนับสนุนระบบเกษตรกรรมแบบยั่งยืน การเพาะปลูกแบบผสมผสาน  ซึ่ง เป็นระบบการผลิตที่สร้างความสมดุลของระบบนิเวศ และสามารถช่วยในการดูดซับคาร์บอนอยู่แล้ว ถือเป็นระบบเกษตรช่วยโลก
  8.  ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการพลังงานในระดับชุมชนอย่างจริงจัง และยกระดับขยายผลให้เป็นนโยบายและปฏิบัติการระดับประเทศ 

Attachments: 

People Statement (Eng)
คำประกาศเจตนารมณ์ (ไทย)

ป้ายคำนิยม

coal forest carbon National Master Plan PDP REDD+ การปรับตัว ถ่านหิน ป่าไม้ พลังงาน ภาคประชาชน เกษตรกรรม แผนแม่บทแห่งชาติ
More

Thai Climate Justice Working Group
คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม