* For English, see below (and in attached file)
* ภาพถ่ายกิจกรรมท้ายหน้า / photo gallery at page end.
*หมายเหตุ: เครือข่ายฯ ยื่นที่กระทรวงพลังงาน วันที่ 7 กันยายน 2558 นายธนรัช จังพานิช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านยุ
จดหมายเปิดผนึก
ถึง นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
สำเนาถึง ผู้ว่าการ กฟผ.
จาก เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากแผนพีดีพี 2015
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2558
สืบเนื่องจากการอนุมัติแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (แผนพีดีพี 2015) ซึ่งจะนำไปสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจำนวนมากถึง 57,459 เมกะวัตต์ในระยะ 20 ปีข้างหน้า โดยอ้างถึงความจำเป็นต่อความมั่นคงพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งจากการตรวจสอบเนื้อหาของแผนฯ ฉบับนี้ ทำให้พบความไม่ชอบมาพากลหลายประการ ที่สำคัญคือแผนพีดีพี 2015 จะนำไปสู่การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เกินความจำเป็น เป็นการลงทุนที่ไม่เกิดประโยชน์ กลายเป็นภาระทางการเงินของผู้บริโภคในระยะยาวคิดเป็นเงินกว่า 6.7 แสนล้านบาท ดังนี้
1. กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองตามแผนสูงเกินมาตรฐาน 15% ไปอย่างมากในช่วง 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2558-2568) โดยแผนพีดีพี 2015 มีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวมากกว่าแผนฯ ฉบับเดิมหลายพันเมกะวัตต์ ทั้งๆ ที่ควรมีการสร้างน้อยลงจากแผนเดิม เนื่องจากการขยายตัวเศรษฐกิจลดลง และมีการเพิ่มเป้าหมายของแผนอนุรักษ์พลังงานมากขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่า แผนพีดีพี 2015 จะมีกำลังผลิตส่วนที่เกินกว่ามาตรฐาน 15% สูงถึง 10,214 - 18,099 เมกะวัตต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2579 หรือคิดเป็นเงินลงทุนเฉลี่ยถึง 6.7 แสนล้านบาท ที่ผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้แบกรับภาระโดยไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากโรงไฟฟ้าเหล่านี้เลย
ที่สำคัญ ภายใต้กำลังผลิตสำรองที่สูงเกินมาตรฐานนี้ ยังรวมถึงโรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างขึ้นแล้ว แต่ถือว่าเป็นกำลังผลิตที่ไม่พร้อมใช้งาน จำนวน 6,092-13,083 เมกะวัตต์ ซึ่งเฉพาะส่วนนี้ คิดเป็นเงินลงทุนเฉลี่ยถึง 4.6 แสนล้านบาท โดยไม่มีการชี้แจงต่อสาธารณะ ว่าโรงไฟฟ้าจำนวนมหาศาลนี้ เหตุใดจึงไม่พร้อมใช้งาน หรือไม่สามารถใช้เป็นกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองได้
2. มีการอ้างว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และ เทพา เป็นโครงการที่ “มีภาระผูกพันแล้ว” ไม่สามารถยกเลิกได้ แต่ในความเป็นจริงนั้น โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่, เทพา (สงขลา), รวมถึงเขาหินซ้อน (ฉะเชิงเทรา) เป็นโครงการที่ยังไม่มีภาระผูกพันใดๆ และไม่มีความจำเป็นต้องก่อสร้างอย่างน้อยในระยะ 12 ปีจากนี้ แม้จะยกเลิกโครงการทั้งสาม กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองก็ยังคงสูงเกิน 15% อยู่ดี จึงน่าแปลกใจที่ กฟผ.พยายามเร่งรัดให้มีการเปิดประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่ ทั้งๆ ที่การจัดทำรายงาน EIA/EHIA โครงการยังไม่แล้วเสร็จ
3. ในช่วง 20 ปีข้างหน้า มีโรงไฟฟ้าที่จะครบกำหนดสัญญาและถูกปลดออกจำนวน 24,736 เมกะวัตต์ ซึ่งในจำนวนนี้สามารถทำการปรับปรุงประสิทธิภาพ หรือก่อสร้างโรงใหม่ทดแทนโรงเดิมได้อย่างน้อย 21,419 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีผลดีทั้งในด้านต้นทุนที่ต่ำกว่าการพัฒนาโครงการใหม่ทั้งหมด และไม่เพิ่มความขัดแย้งในพื้นที่ใหม่ๆ แต่แผนพีดีพี 2015 กลับมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนโรงเดิมเพียง 10,513 เมกะวัตต์
4. โรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างใหม่จำนวนมากในแผนฯ ส่วนหนึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหินที่จะถูกก่อสร้างขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน และส่งไฟฟ้าเข้ามาใช้ในประเทศไทย ถือเป็นการส่งออกปัญหาสิ่งแวดล้อมและความขัดแย้งกับชุมชนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ขณะเดียวกัน โครงการเช่นเขื่อนขนาดใหญ่บนแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน แม้จะสร้างในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบนิเวศข้ามพรมแดน และสร้างผลกระทบย้อนกลับมาที่ประชาชนไทย
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสังคมมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงทางพลังงาน ควรเป็นไปเพื่อความอยู่ดีมีสุขของผู้คน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจท้องถิ่น และขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงการรักษาความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมและทรัพยากรเพื่อลูกหลานรุ่นต่อๆ ไป
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา การวาง “แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า” หรือแผนพีดีพีของประเทศไทยไม่ได้เป็นไปเพื่อตอบโจทย์เหล่านี้ แต่กลับเน้นการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยอ้างความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างไม่บันยะบันยัง อีกทั้ง กระบวนการจัดทำแผนที่ผ่านมายังปิดกั้นการมีส่วนร่วมของสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการเหล่านั้น แม้จะรู้อยู่แล้ว ว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสุขภาพประชาชนในวงกว้าง ตั้งแต่ แม่น้ำ ภูเขา ที่ราบ ทะเล และชายฝั่ง
แผนพีดีพีถือเป็นแผนแม่บทระยะยาว 20 ปี แต่ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2550-2558) กลับมีการประกาศใช้แผนพีดีพีรวมแล้วถึง 8 แผน โดยแต่ละแผนที่ถูกประกาศใช้ก็มักจะมีการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอทั้งที่ระบบไฟฟ้าของเราจากอดีตที่ผ่านมาจะมีกำลังผลิตสำรองสูงเกินมาตรฐานมาโดยตลอด โดยเฉพาะแผนพีดีพี 2015 ซึ่งจะนำไปสู่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเกินความจำเป็นอย่างมากมายมหาศาลดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น
ดังนั้น เครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ได้รับปัญหาโดยตรงจากโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเขื่อนขนาดใหญ่ (ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน) จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงาน
1. ยกเลิก แผนพีดีพี2015 เพื่อให้จัดทำแผนใหม่ ด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในการวางแผน และตรวจสอบการวางแผนได้อย่างโปร่งใส
2. การจัดทำแผนพีดีพีจากนี้ไป ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์เหล่านี้
2.1 ผู้บริโภคต้องไม่รับภาระการลงทุนเกินจำเป็น จากการวางแผนผลิตไฟฟ้าที่ผิดพลาด เช่น การลงทุนในกำลังผลิตสำรอง ที่เกินจากมาตรฐาน 15% ประมาณ 6.7แสนล้านบาท ต้องไม่นำมารวมในการคิดค่าไฟฟ้า
2.2 พิจารณาปรับปรุงโรงไฟฟ้าเดิมที่มีอยู่แล้วและมีกำหนดว่าจะปลดระวาง ก่อนที่จะวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าใหม่
2.3 เลือกแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน ไม่ใช้พลังงานถ่านหินและนิวเคลียร์
2.4 การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ต้องไม่ถือเป็นพลังงานหมุนเวียน
2.5 การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ต้องไม่ตั้งเพดานการผลิต และส่งเสริมการผลิตให้ได้มากที่สุดเป็นทางเลือกแรก
3. โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เทพา และเขาหินซ้อน ซึ่งไม่ได้มีความจำเป็น และยังไม่มีภาระผูกพัน (ยังไม่ทำสัญญา) จะต้องยกเลิก ไม่ดำเนินการต่อ ... แต่หาก กฟผ. ยังดึงดันที่จะเปิดประมูลต่อ ต้องหาทางชดใช้ค่าเสียหายในอนาคตโดยไม่ผลักมาเป็นภาระผู้บริโภค
4. การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศเพื่อนบ้านและเขื่อนบนแม่น้ำนานาชาติ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในภูมิภาคโดยไม่สร้างความขัดแย้ง
เครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ได้แก่
เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
สมาคมคนรักษ์เลกระบี่
เครือข่ายปะทิวรักษ์ถิ่น
เครือข่ายรักษ์บางสน
เครือข่ายรักษ์ละแม
เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน
สมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ่าวท่าศาลา
เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา
สมาคมประมงพื้นบ้านอำเภอหัวไทร
กลุ่มธนาคารปูขนาบนาก
เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบางสะพาน
เครือข่ายประชาชนภาคตตะวันออก
เครือข่ายติดตามผลกระทบโรงฟฟ้าถ่านหิน ตำบลเขาหินซ้อน
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ สนามชัยเขต
กลุ่มศึกษาพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม จังหวัดอุบลราชธานี
เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวิน
เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
กลุ่มฮักน้ำของ
---------------------------------
Open letter: People's demand to cancel PDP2015 and start a new transparent process
ATT: Prime Minister and Minister of Energy
CC: Governor of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT)
From: Network of people affected by Power Development Plan 2015 (PDP 2015)
Monday 7th September 2015
The recent endorsement of the Power Development Plan B.C. 2015-2036 (PDP 2015) is leading to construction of new power plants with an enormous capacity of 57,459 megawatts in the next 20 years citing the need to strengthen power security of the country. However, review of the plan found many dubious flaws. Most importantly, the PDP 2015 paves the way for unnecessary investment in power plants which will not be beneficial and instead incur long-term financial burdens to consumers at the range of 18.61 billion USD. Some of the flaws observed in PDP2015 are summarized here:
1. The first 10 years of PDP 2015 (B.C. 2015 – 2025) sees reserve margins unreasonably much higher than the standard 15%. Consequently, thousands more megawatts of power plants are added into the current plan as oppose to the previous PDP in contradiction of the current economic stagnation and increasing energy conservation target. During the whole period of PDP2015 (2015 – 2036), the amount of over-supply above the 15% standard reserve margin is expected at the range between 10,214 – 18,099 MW; This translates into approx. 6,7000 billion THB (approx. 18.61 billion USD) in investment which consumers are left to shoulder without benefiting from the energy glut.
More importantly, the excessive power reserve includes 6,092-13,083 megawatts of existing power plants which are not ready for use or considered non-dependable. Such huge portion has already accounted for average 4,600 billion THB (approx. 12.7 billion USD) invested with no explanation to the public why these capacity are not ready for use and cannot be counted as dependable capacity.
2. Authorities have claimed that the Krabi and Thepa power plants are “binding” projects and therefore cannot be cancelled. In fact, contracts for the Krabi, Thepa (Songkhla province), and including Khao Hin Son (Chachoengsao province) power plants have not been made. Considering the high amount of over-supply in the PDP2015 as mentioned, the reserve margins will continue to be much above 15%-standard level without these three power plants therefore they are not necessary for at least the next 12 years. It is thus unreasonable that EGAT tries to rush the bidding process of Krabi power plant even though its Environmental/Health Impact Assessment is not completed.
3. During the next 20 years, 24,736 MW of power plants will end their contracts and subjected to decommissioning. Of which, at least 21,419 MW can and should consider options for extension and/or repowering; because the cost will be lower than developing the whole new power plant projects and will also help avoid conflicts in new project sites. However, PDP2015 includes only 10,513 MW to be repowered.
4. Many new capacities in PDP2015 will come from mega-hydro and coal-fired power plants located in our neighbouring countries with transmission lines sending electricity to use in Thailand. This plan merely export environmental problems and conflicts with communities to our neighbours. On the other hand, building mega-hydro projects on the Mekong and Salween rivers in other countries entail transboundary ecological (hence social) impacts which will rebound to Thai people.
Energy is an important factor for human society development. On the other hand, energy security should enhance well being, quality of life, and local economy at the same time take into account sustainability of environment and resources for the future generations.
Nevertheless, previous “Power Development Plans (PDPs)” have failed to address these issues. An emphasis has been placed on developing large scale power plants in the name of limitless need for energy. Additionally, the past planning process has excluded the public, particularly people who are directly affected by the power projects. This happens despite the knowledge of their tremendous impacts on the environment, ecosystem, and health of people from rivers, mountains, plains, coastal and marine environment.
The PDP is a long term 20-years plan. On the contrary, during the past nine years (2007-2015), eight PDPs have been announced, each of which introduced more new power plant projects even though our reserve margins remained higher than the standard at all time. The PDP2015, in particular, will lead to generation of excessive power and power plants at the magnitude already explained above.
Therefore, the Network of people affected by the Power Development Plan (PDP2015) which includes those directly affected by coal-fired power plants and mega-dams (inside the country and in neighboring countries) demand the followings from the Ministry of Energy.
-
Cancel the PDP 2015 and draft a new PDP with genuine public participation process which allows people to have adequate access to necessary information needed for the planning and ensures transparent public monitoring of the planning process.
-
The drafting of new PDPs from now on shall take into account;
-
Consumers must not be forced to bear excessive investment costs as a result of false planning, for example, the 6,7000 billion THB (approx. 18.61 billion USD) incurred from setting reserve margins much higher than the 15%-standard shall not be added to electricity bills.
-
Consider power plants life-extension and repowering as an option for existing power plants prior to building new ones.
-
Prioritize sustainable energy sources and no more coal and nuclear powers
-
Large-scale hydropower shall not be counted as renewable energy
-
Promote renewable energy, revoke ceiling set on renewable energy generation, and prioritize renewable energy options
-
-
The Krabi, Thepa and Khao Hin Son power plant projects, which are not necessary and whose contracts have not been made, have to be cancelled and discontinued. If EGAT insists on proceeding with the bidding process, it shall be held accountable for future damage and cost incurred from false planning, not to pass on the burden to consumers.
-
Construction of coal-fired power plants and mega-hydropower projects in international rivers have to be implemented in compliance with international laws, taking into account peaceful and cordial coexistence of people in the region without creating conflicts.
The Network of people affected by Thailand's Power Development Plan includes;
Save Andaman from Coal Network
Krabi Sea Loving People Association
Pathew Conservation Network
Bang Son Conservation Network
La Mae Conservation Network
Network of Songkhla-Pattani People Against Coal Power Plants
Traditional Fishing Association, Tha Sala Bay
Tha Sala Local Conservation Network
Hua Sai Traditional Fishing Association
Kanab Nak Crabs Bank Group
Bang Saphan Natural Resources and Environmental Conservation Network
Eastern People Network
Network to Monitor Impacts of Coal Power Plant in Tambon Khao Hin Son
Sanam Chai Khet Organic Farmers Group
Sustainable and Just Energy Study Group, Ubon Ratchathani
Salween Basin Resource Network
Network of Thai People in Eight Mekong Provinces
Hug Nam Kong Group